มาทำความรู้จักว่า ทำไม ESG ถึงมีความสำคัญในปัจจุบัน กันนะคะ

Part 2

มาทำความรู้จักว่า ทำไม ESG ถึงมีความสำคัญในปัจจุบัน กันนะคะ

ESG สำคัญอย่างไร?

​ในอดีตที่ผ่านมา นักลงทุนส่วนใหญ่จะเลือกลงทุนในธุรกิจหรือบริษัทที่มีผลกำไรดีเป็นสำคัญ แต่ปัจจุบันบทวิเคราะห์ของบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์หลายแห่งได้ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในบริษัทที่มุ่งเน้นแนวคิด ESG คือ ธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนจะสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าบริษัทที่แสวงผลกำไรในระยะยาว สอดคล้องกับผลสำรวจจากหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกที่ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนแบบยั่งยืนกำลังมีอิทธิพลในตลาดการลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ ESG จะอยู่ในกลุ่มการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investment) แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเกิดจากการลงทุนที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวก ธุรกิจสามารถบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับแค่ผลประกอบการเพียงอย่างเดียว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นบริษัทที่สามารถระบุปัจจัย ESG ที่มีความสำคัญต่อความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลต่อศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่โดดเด่นเหนือคู่แข่งอย่างชัดเจน

ESG Risk คืออะไร

​ความเสี่ยงด้าน ESG คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน “ESG” หรือที่เรียกว่า “ESG Risk” ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่องค์กรจะต้องหาวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อสร้างโอกาสและลดความเสี่ยงอันมีผลต่อความสามารถในการสร้างผลกำไร การแข่งขัน ภาพลักษณ์ ชื่อเสียง และความอยู่รอดขององค์กร โดยบูรณาการการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนตั้งแต่การกำหนดพันธกิจและกลยุทธ์องค์กร รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนมาประกอบการจัดการความเสี่ยงในระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย

ESG Risk ด้านสิ่งแวดล้อม

-ผลกระทบจากการเปลี่ยนเปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือการจัดหาวัตถุดิบ

-ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Tax)

-สถานที่ก่อสร้างที่มีความเสี่ยงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ

-การเลือกใช้วัสดุที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือมีความเสี่ยงในด้านความปลอดภัย

มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องได้แก่ ISO 14001, Carbon Footprint of Organization (CFO) ISO 14064-1, Carbon Footprint of Products ISO 14067, Global Recycle Standard (GRS), Recycled Claim Standard (RCS)

 

ESG Risk ด้านสังคม

-การละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน

-การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร

-การคัดค้านการสร้างโรงงานในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงชุมชน

มาตรฐานด้านสังคมที่เกี่ยวข้องได้แก่ SA 8000, RJC, Sedex (SMETA), SLCP, CTPAT, ASI (Aluminium Stewardship Initiative)

 

ESG Risk ด้านบรรษัทภิบาล

-การที่องค์กรไม่เปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นประเด็นที่เป็นความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย

-ความบกพร่องในมาตรการกำกับดูแลภายในองค์กร

-ความเสี่ยงจากการเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีปัญหาด้านคอร์รัปชั่น

มาตรฐานด้านธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้องได้แก่ RJC (Responsible Jewellery Council), ASI (Aluminium Stewardship Initiative)

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการปรับใช้แนวคิด ESG

เมื่อองค์กรปรับใช้แนวคิด ESG แล้วจะได้รับประโยชน์หรือไม่ และเพราะอะไรองค์กรควรคำนึงถึงแนวคิดนี้? หลักๆแล้ว ESG สร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้ ดังนี้

1. เป็นตัวชี้วัดว่าองค์กรมีคุณภาพ

มีแนวทางปฏิบัติที่ดีเป็นมาตรฐานสากล เพราะลูกค้าและนักลงทุนในปัจจุบันมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นของ ESG

 2. สามารถดึงดูดลูกค้าและนักลงทุนได้ทั่วโลก

องค์กรที่มีการรายงาน ESG  อย่างชัดเจนและโปร่งใส เป็นองค์กรที่สามารถโดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางหลายองค์กรในตลาด

มาทำความรู้จักว่า ทำไม ESG ถึงมีความสำคัญในปัจจุบัน กันนะคะ
Ms.Wannarat Wattanachai 5 กันยายน ค.ศ. 2024
แชร์โพสต์นี้
บล็อกของเรา
เก็บถาวร